ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 21 เม.ย.65 สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่รายใหญ่ 3 แห่ง ได้แก่ สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่แปดริ้ว จำกัด สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่สุพรรณบุรี จำกัด และสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ชลบุรี จำกัด รวมถึงชมรมผู้เลี้ยงไก่ไข่เชียงใหม่ลำพูน ได้ประกาศปรับราคาแนะนำไข่ไก่คละ ณ หน้าฟาร์มเกษตรกร ขึ้นอีก ฟองละ 10 สตางค์ หรือแผงละ 3 บาท จาก 3.40 บาทต่อฟอง เป็น 3.50 บาทต่อฟอง มีผลตั้งแต่วันที่ 22 เม.ย. 2565 เป็นต้นไปคำพูดจาก เว็บพนันออนไลน์
ทั้งนี้ ภายหลังจากแจ้งปรับขึ้นราคาไข่ไก่คละหน้าฟาร์มเป็นฟอง 3.50 บาท ทางชมรมผู้เลี้ยงไก่ไข่เขียงใหม่ลำพูน ได้แจ้งราคาแนะนำขายไข่ไก่ ดังนี้ไข่เบอร์ 0 เพิ่มเป็นฟองละ 4.10 บาท เบอร์ 1 เพิ่มเป็นฟองละ 3.90 บาท เบอร์ 2 เพิ่มเป็นฟองละ 3.70 บาท เบอร์ 3 เพิ่มเป็นฟองละ 3.60 บาท เบอร์ 4 เพิ่มเป็นฟองละ 3.40บาท เบอร์ 5 เพิ่มเป็นฟองละ 3.20 บาท
ขณะเดียวกัน กรมการค้าภายใน แจ้งแนวโน้มราคาจำหน่ายเนื้อสุกร ชำแหละเนื้อแดง โดยมีการปรับขึ้นราคาจากช่วงเทศกาลสงกรานต์อีก กก.ละ 5 บาท โดยเมื่อวันที่ 12 เม.ย. 65 ราคาเนื้อสันนอกอยู่ที่ 185-195 บาท ปัจจุบันปรับขึ้นมาอยู่ที่ 190-200 บาทต่อกกคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. เนื้อแดง สะโพก ปรับจาก 180-185 บาทต่อ กก. เป็น 180-190 บาทต่อ กก. และสามชั้นปรับจาก 205-225 บาท เป็น 210-230 บาท
นายสุเทพ สุวรรณรัตน์ นายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ภาคใต้ กล่าวว่า สาเหตุที่ไข่ไก่ปรับขึ้นราคา เนื่องจากได้เผชิญปัญหาต้นทุนการเลี้ยง และอาหารสัตว์ที่สูงขึ้นมาตลอด โดยไม่ได้รับการช่วยเหลือใดๆ จากภาครัฐเลย ประกอบกับช่วงเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา เกิดสภาพอาอากาศแปรปรวนหนัก มีอากาศร้อนจัด สลับกับเกิดพายุฝนทำให้ผลผลิตเสียหาย แม่ไก่ไม่ออกไข่ หรือบางส่วนก็ล้มป่วยตายไป จนทำให้ปริมาณผลผลิตไข่ลดลงไปประมาณ 10%
“เราเข้าใจทุกฝ่ายกำลังเดือดร้อนเหมือนกันหมด อย่างเกษตรกรผู้เลี้ยงก็อยู่ไม่ได้ เพราะต้นทุนการเลี้ยงเพิ่มมากจริงๆ อย่างล่าสุดช่วงต้นสัปดาห์ อาหารสัตว์ก็ขยับขึ้นอีก จึงจำเป็นต้องขึ้นราคาไข่ไก่ ซึ่งก็เห็นใจผู้บริโภคที่ต้องมีค่าครองชีพเพิ่ม แต่หากเราไม่ขึ้นเลยก็อยู่ไม่ได้ เพราะที่ผ่านมาไม่เคยได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐเลย โดยเฉพาะปัญหาอาหารสัตว์ราคาแพง ได้เรียกร้องมาตั้งแต่ปีที่แล้วแต่ก็ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือใด”
นายสุเทพกล่าวว่า ก่อนหน้านี้สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ได้ยื่น 3 ข้อเสนอ การขอลดภาษีนำเข้ากากถั่วเหลืองจาก 2% ให้เหลือ 0% การผ่อนปรนหลักเกณฑ์เงื่อนไขอนุญาตนำเข้าเข้าสาลีต่อการรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สัดส่วน 1 ต่อ 3 และการผ่อนปรนระยะเวลานำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน (อาฟตา) เพื่อแก้ปัญหาวัตถุดิบราคาแพง แต่เรื่องก็ยังเงียบไม่ได้รับการตอบรับใดๆ เลย ซึ่งหากปัญหายังค้างคา และราคาอาหารสัตว์ยังเพิ่มขึ้นอีก ก็ทำให้ไข่ไก่มีแนวโน้มปรับขึ้นได้อีก